วันอาทิตย์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2550

ผลการทดลอง

ผลการทดลอง

จากการทดลองในการขับรถด้วยระยะทาง 200 เมตรที่ความเร็วต่างๆเพื่อรับส่งข้อมูล แล้วหาชวงที่รับข้อมูลได้และไม่ได้ เมื่อนำผลการทดลองมาเขียนเป็นตารางและวาดกราฟดังรูปที่ 1, 2, 3

วิธีการหาค่าในตาราง
(1 package = 32 byte)
time = distance/v = 200m./v
good(byte) = จ.น.good*32
bad(byte) = จ.น.bad*32
time/package = (จ.น.good+จ.น.bad)/time
time at good range = ตำแหน่งแรกที่good*time/package ถึง ตำแหน่งสุดท้ายที่good*time/package



รูปที่ 1


















รูปที่ 2


















รูปที่ 3








จะสามารถวิเคราะห์ได้ว่า ที่ความเร็วช้าๆ (ใช้เวลาในการรับส่งข้อมูลนาน) จะมีการรับส่งข้อมูลหลาย Package แต่ที่ความเร็วสูงๆ (ใช้เวลาในการรับส่งข้อมูลน้อย) จะทำให้มีการรับส่งข้อมูลได้ไม่กี่ Package






รูปที่่ 4





ซึ่งจากกราฟสามารถบอกได้ว่า ที่ความเร็วช้าๆ เวลาที่ข้อมูลจะรับได้จะอยู่ตรงตำแหน่งที่ใกล้กับตัวรับส่งสัญญาณที่อยู่นิ่ง (ระยะ 100 เมตร) แต่เมื่อเพิ่มความเร็ว เวลาที่มีการรับส่งข้อมูลได้จะค่อยๆ ขยับเลื่อนไป ณ ตำแหน่งที่ใกล้กับระยะเริ่มต้น เมื่อถึงระยะกลางทางมีการส่งข้อมูลแต่ รถได้วิงเลยไปในระยะที่เกินขอบเขตที่จะรับข้อมูลแล้ว จึงไม่สามารถส่งข้อมูลถึงกันได้ทำให้ที่ความเร็วสูงๆ การรับส่งข้อมูลจะกระทำกันเฉพาะระยะที่เริ่มต้นจนถึงระยะกลางทาง
จากตารางที่ 1 สามารถสรุปได้ว่า ที่ความเร็วต่างๆ จะสมารถรับส่งข้อมูลได้มากที่สุดขนาดเท่าใด


วันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2550

การเก็บข้อมูล


วันที่ 14 เดือน สิงหาคม พ.ศ. 2550
สถานที่ ถนนบริเวณวัดพระธรรมกาย



อุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บข้อมูล
  1. รถยนตร์ 2 คัน
  2. ชุดบอร์ดทดลองXbee + โปรแกรม X-CTU 1 ชุด
  3. คอมพิวเตอร์โน้ตบุค 1 เครื่อง
  4. กล้องถ่ายรูป 1 ตัว
  5. นาฬิกาจับเวลา 1 เรือน






วิธีการเก็บข้อมูลทำโดย




  • หาระยะทางที่ไกลที่สุดที่สามารถรับ-ส่งข้อมูลได้ ในที่นี้จาการทดสอบระยะที่ไกลที่สุดที่สามารถรับ-ส่งข้อมูลได้คือ ระยะประมาณ 100 เมตร ดังนั้นระยะทางทั้งหมดที่รถใช้ในการวิ่งในช่วงที่สามรถรับ-ส่งข้อมูลได้คือ 200 เมตร


ถนนที่ใช้ในการเก็บข้อมูล




  • นำบอร์ด Xbee ตัวหนึ่งวางไว้ที่รถยนต์คันหนึ่งที่จอดอยู่กับที่

บอร์ดที่วางไว้ในรถที่อยู่กับที่





  • นำบอร์ด Xbee อีกตัวหนึ่งต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์ แล้ววางไว้ในรถที่ใช้วิ่งทดสอบ (ดังนั้นรถที่ใต้องใช้ระยะทางในการวิ่งทั้งหมด 200 เมตร จึงจะพ้นเขตที่สามารถรับ-ส่งข้อมูลได้)



บอร์ดที่วางอยู่ในรถที่วิ่งทดสอบ พร้อมกับคอมพิวเตอร์ที่ใช้เก็บข้อมูล





  • ตั้งค่าของโปรแกรม X-CTU โดยให้ ขนาดของข้อมูลมีขนาด 32 bit และเวลาที่รับข้อมูลได้ทั้ง Packet คือ 200 มิลิวินาที



  • ให้รถที่ใช้วิ่งทดสอบนั้น วิ่งด้วยความเร็วต่างๆ กัน ในที่นี้กำหนดเป็น 5,10,15,20,25,30,35,40,45,50,55,60,65 km/hr ตามลำดับ



ความเร็วต่างๆ ในการเก็บข้อมูล



  • บันทึกผลที่ได้จากการทดลอง


ผลการทดลองที่ได้เป็นดังนี้
















วันเสาร์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2550

ZigBee

ZigBee /802.15.4 Application Kit


ชุดทดลองประยุกต์ใช้งาน ZigBee / 802.15.4


เป็นการควบคุมและการติดต่อสื่อสารที่ลงทุนต่ำ, ประหยัดพลังงาน และแก้ปัญหาระบบผังตัวไร้สาย

ชุดทดลองประยุกต์ใช้งาน ZigBee / 802.15.4 ได้รวมเอาโมเด็ม RF รุ่น XBee ของ MaxSteam เข้ากับโมดูล RabbitCore RCM3720 ซึ่งเป็นรุ่นที่ได้รับความนิยมพร้อมด้วยการเชื่อมต่อที่ทำได้ง่ายเพื่อช่วยลูกค้าในการสร้างโครงข่ายควบคุม ZigBee แบบไร้สาย ZigBee เมื่อรวมเข้ากับ RCM3720 จะได้โครงสร้างพื้นฐานไร้สายที่ทนทาน และราคาถูก ซึ่งผู้ใช้งานสามารถตรวจสอบและควบคุมอุปกรณ์ในระยะไกลได้ภายในโครงข่ายไร้สาย Mesh

ZigBee เป็นเทคโนโลยีไร้สายที่เป็นที่รู้จักในด้านความน่าเชื่อถือราคาถูก และประหยัดพลังงานซึ่งยึดหลักการติดตั้งมาตรฐานการติดตั้ง IEEE 802.15.4 สำหรับแพ็คเก็จพื้นฐาน และการถ่ายโอนข้อมูลแบบไร้สาย

ชุดทดลองประยุกต์ใช้งาน ZigBee / 802.15.4 ของ Rabbit ได้จัดเตรียมเครื่องมือทุกอย่างเพื่อรวมโมดูลไร้สาย ZigBee เข้ากับการแก้ปัญหาที่มีพื้นฐานของ Rabbit

ภายในชุดทดลองประกอบด้วย โมดูล ZigBee ของ MaxStream 3 โมดูล สำหรับการประยุกต์ใช้งานอย่างเต็มรูปแบบ โมดูล ZigBee ตัวหนึ่งถูกเชื่อมต่อกับ Ethernet ซึ่งทำให้ RabbitCore Module RCM3720 ทำงานได้ RCM3720 ปฏิบัติการที่สัญญาณนาฬิกา 22.1 MHz และได้จัดเตรียมการเชื่อมต่อ Ethernet แบบ 10Base-T มีหน่วยความจำในตัวได้แก่แบบ Flash ขนาด 512 K, SRAM ขนาด 256 K และ Serial Flash อีก 1 MB, เส้น GPIO 33 เส้น ส่วนโมดูล ZigBee ที่เหลืออีก 2 ตัวนั้นเป็นอุปกรณ์เชื่อมต่อที่ทำงานโดยไม่ต้องเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่น

โปรแกรมตัวอย่าง ไลบรารี่ และ Firmware ช่วยในการรวมโครงข่าย ZigBee เข้ากับการแก้ปัญหาระบบฝังตัวที่มีพื้นฐานของ Rabbitการเชื่อมต่อที่ผู้ใช้สามารถกำหนดได้เองทำให้ผู้ใช้ติดตั้งโครงข่าย, ค้นพบอุปกรณ์อื่นๆที่คล้ายกับ ZigBee และควบคุม LED กับ สวิตซ์ต่างๆจากบอร์ดเชื่อมต่อ RF ในฐานะที่เป็นอุปกรณ์เชื่อมต่อ

โปรแกรมตัวอย่างจะสาธิตการเชื่อมต่อผ่าน topology ในหลากหลายรูปแบบเช่น แบบ Point-to-Point, Point-to-Multipoint และ Mesh ซึ่งชุดทดลองนี้เหมาะที่จะใช้เป็นตัวอย่างสำหรับการประยุกต์ใช้งานไร้สายได้อย่างไร้ขีดจำกัดที่ต้องการประหยัดพลังงาน


คุณสมบัติสำคัญ

  • เป็น RabbitCore โมดูล ปฏิบัติการที่สัญญาณนาฬิกา 22.1 MHz และ 10 Base-T Ethernet และมีหน่วยความจำในตัว
  • ได้แก่แบบ Flash ขนาด 512 K, SRAM ขนาด 256 K และ Serial Flash อีก 1 MB, เส้น GPIO 33 เส้น
  • มีโมดูลไร้สายรุ่น ZigBee ของ MaxStream 3 โมดูล และสายสัญญาณสำหรับการเชื่อมต่อได้สะดวก
  • มีโปรแกรมตัวอย่าง และไลบรารี่ เพื่อตอบสนองการทำงาน อินพุต/เอาต์พุตดิจิตอล และการควบคุมได้ง่าย,
  • มีGateway ทำหน้าที่เชื่อมต่อ Ethernet ไปยัง ZigBee และมีการติดต่อสื่อสารของโครงข่ายแบบ Mesh
  • Rabbitweb ที่ทำให้ง่ายต่อการโปรแกรมซอฟต์แวร์ HTML ด้วยกลไกรีเฟรช
  • มีการเชื่อมต่อ web ที่ง่ายสำหรับการติดตั้ง(setup) โครงข่าย ZigBee / 802.15.4 มีโครงสร้างโมเด็มรูปแบบ RF และฟังก์ชั่นต่างๆที่ใช้ในการอัพเดท Firmware

จุดเด่นการออกแบบ
  • การประยุกต์ใช้งานอ้างอิงที่ใช้ต้นทุนต่ำ และโครงสร้างพื้นฐานของ ZigBee / 802.15.4 ที่ประหยัดพลังงานเพื่อ
  • เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ที่มีพื้นฐานเป็น Rabbit
  • รองรับ Topologies แบบ Point-to-Point, Point-to-Multipoint และ Mesh
  • สำหรับการประยุกต์ใช้งานในเชิงพาณิชย์อย่างมีประสิทธิภาพ
  • RabbitCore สามารถทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมโครงข่าย, Gateway หรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการควบคุมได้

การประยุกต์ใช้งาน

  • การประยุกต์ใช้งานควบคุมฝังตัวแบบไร้สายราคาถูก
  • เป็นสุดยอดในด้านการตรวจสอบเครื่องมือ อุปกรณ์ และทรัพย์สินในระยะไกล
  • นำไปประยุกต์ใช้งานในด้านการเก็บข้อมูลได้ง่าย
  • การควบคุมโครงข่ายแบบ Mesh
  • การควบคุม อินพุต/เอาต์พุต แบบไร้สาย
  • การควบคุม XBee ที่ติดตั้งกับอุปกรณ์

วันอาทิตย์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2550

Zigbee



เทคโนโลยีไร้สายทั้งสี่ชนิดก็คือ WiMax, Mobile-Fi, ZigBee และ Ultrawideband

WiMax จะมีลักษณะคล้ายกับการทำงานของ Wi-Fi ที่สร้าง hot spot หรือจุดรับคลื่นในบริเวณใดบริเวณหนึ่งรอบๆ เสาสัญญาณ โดยใช้แล็ปทอปหลายเครื่องพร้อมกันได้คล้ายๆ กับระบบ LAN แต่ไร้สาย WiMax แตกต่างกับ Wi-Fi ตรงที่ WiMax จะมีรัศมีการส่งคลื่นสัญญาณได้ไกลกว่าหลายสิบเท่า ว่ากันว่ามีรัศมีการส่งคลื่นได้ถึงประมาณ 40-50 กิโลเมตรเลยทีเดียว

ในขณะที่ mobile-Fi ก็กำลังพัฒนาให้ลูกค้า บรอดแบนด์สามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในขณะเคลื่อนที่อยู่บนรถยนต์หรือรถไฟได้ด้วย

แต่ ultrawideband ได้ถูกออกแบบมาให้เป็นเทคโนโลยีไร้สายที่สามารถสนับสนุนการรับส่งไฟล์ขนาดใหญ่ได้ในระยะทางสั้นๆ เช่น การรับส่งไฟล์ภาพยนตร์ภายในบ้านจากเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะไปที่ทีวีดิจิทัล หรือบนรถไฟที่สนับสนุนการใช้เทคโนโลยี mobile-Fi แล้วมีการรับส่งไฟล์ขนาดใหญ่ภายในรถไฟได้

สำหรับ zigbee เป็นเทคโนโลยีไร้สายที่ร่วมกันสื่อสารข้อมูลผ่านเซ็นเซอร์ขนาดเล็กจิ๋ว จำนวนเป็นพันๆ หมื่นๆ ชิ้นที่ฝังอยู่ตามส่วนต่างๆ ในอาคาร สำนักงาน โรงงาน หรือแม้แต่ในบ้าน การทำงานของมันจะเป็นการรับ-ส่งคลื่นสัญญาณข้อมูล ผ่านชิปเล็กจิ๋วนี้จุดต่อจุดไปเรื่อยๆ จนถึงปลายทางที่ต้องการดาวน์โหลดข้อมูลลงในเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ข้อมูลที่ได้อาจจะเป็นการวัดอุณหภูมิ การเคลื่อนไหวของสิ่งมีชีวิต จับปริมาณมลพิษในอากาศ ปริมาณน้ำ ท่อแก๊สโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์หรือแบตเตอรี่ขนาดเล็กที่กินไฟน้อยมาก จึงสามารถฝังทิ้งไว้ในที่ห่างไกลได้เป็น 10 ปี ว่ากันว่าเทคโนโลยี zigbee นี้จะช่วยทำให้บริษัทที่เกี่ยวข้องกับการส่งพลังงานเช่น น้ำมัน ประปา น้ำในเขื่อน ท่อแก๊ส สามารถประหยัดการสูญเสียได้อย่างน้อย 10-15% และในอนาคตอันใกล้นี้เมื่อเทคโนโลยีนาโนก้าวหน้ามากขึ้น เซ็นเซอร์ zigbee จะมีขนาดเล็กเท่าหัวเข็มหมุด สามารถฝังได้แม้กับในร่างกายของสิ่งมีชีวิตก็ได้
___________________________________________________

Zigbee
ชื่อ ZigBee ได้มาจากพฤติกรรมการสื่อสารของผึ้ง โดยผึ้งจะบินแบบซิกแซ็ก และจะให้ข้อมูลข่าวสารระหว่างผึ้งด้วยกัน ที่เกี่ยวกับ ตำแหน่ง ระยะทาง และทิศทางของอาหารที่พวกมันกำลังหาอยู่

ZigBee ถูกสร้างขึ้นในการทำระบบเครือข่ายไร้สายส่วนบุคคล(WPAN) อยู่ภายใต้มาตรฐาน IEEE 802.15.4 โดยมาตรฐานนี้ใช้งานสำหรับการสื่อสารความเร็วต่ำ ใช้กำลังไฟฟ้าน้อย อุปกรณ์ราคาถูก และมีคุณสมบัติการจัดการตัวเองได้ เป็นเทคโนโลยีไร้สายที่ร่วมกันสื่อสารข้อมูลผ่านเซ็นเซอร์ขนาดเล็กจิ๋ว จำนวนเป็นพันๆ หมื่นๆ ชิ้นที่ฝังอยู่ตามส่วนต่างๆ ในอาคาร สำนักงาน โรงงาน หรือแม้แต่ในบ้าน

การทำงานของ ZigBee จะเป็นการรับ-ส่งคลื่นสัญญาณข้อมูล ผ่านชิปเล็กจิ๋วนี้จุดต่อจุดไปเรื่อยๆ จนถึงปลายทางที่ต้องการดาวน์โหลดข้อมูลลงในเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ข้อมูลที่ได้อาจจะเป็นการวัดอุณหภูมิ การเคลื่อนไหวของสิ่งมีชีวิต จับปริมาณมลพิษในอากาศ ปริมาณน้ำ ท่อแก๊สโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์หรือแบตเตอรี่ขนาดเล็กที่กินไฟน้อยมาก

ลักษณะของ ZigBee คือมีทางเข้าช่องสัญญาณโดยการใช้ Carrier Sense Multiple Access with Collision Avoidance (CSMA - CA) หรือมีทางเข้าช่องสัญญาณหลายๆ ทาง เพื่อหลีกเลี่ยงการชนกัน ระยะทางโดยทั่วไปประมาณ 50 เมตร มี topology แบบ star , peer-to-peer, mesh ทั้งนี้แต่ละอุปกรณ์จะมีแอดเดรส ที่มีความยาว 64 หรือ 16 บิต (รองรับได้
64,000 อุปกรณ์)
มาตรฐาน IEEE 802.15.4 ที่ถูกกำหนดไว้ใน ชั้น Physical layer มีอยู่ 3 ความถี่คือ
2.4-2.4835 GHz bit rate 250 kb/s มีอยู่ 16 ช่องสัญญาณ คือช่องสัญญาณที่ 11-26 ,
868-870 MHz bit rate 20 kb/s มีอยู่ 1 ช่องสัญญาณ คือช่องสัญญาณที่ 0 และ
902-928 MHz bit rate 40 kb/s มีอยู่ 10 ช่องสัญญาณ คือ ช่องสัญญาณที่ 1-10
โดยความถี่ 2.4-2.4835 GHz สามารถใช้งานได้ทั่วโลก และความถี่ 868-870 MHz และ 902-928 MHz ใช้งานได้ในพื้นที่ของอเมริกาเหนือ , ยุโรป , ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์

ชนิดอุปกรณ์ของ ZigBee มีอยู่ 2 ชนิดคือ แบบ Physical Device และ Logical Device
แบบ Physical Device มี 2 ประเภท คือ
Full Function Device : FFD เป็น เราเตอร์ที่เป็นสื่อกลางในการส่งข้อมูลจากอุปกรณ์อื่นๆ ใช้พลังงานจาก power line ทำงานได้ในทุก Topology และสามารถทำเป็นจุดเชื่อมต่อกันได้ และ
Reduced Function Device : RFD เหมาะแก่การเชื่อมต่อภายในเครือข่าย ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ ไม่สามารถถ่ายทอดข้อมูลจากอุปกรณ์อื่นๆ ได้ ทำได้ง่ายในเครือข่ายที่เป็นแบบ star
แบบ Logical Device มี 3 ประเภท คือ
ZigBee Coordinators เป็นจุดที่ประสานเชื่อมต่อกัน ทำหน้าที่ในการจัดเก็บข้อมูลในเครือข่าย ,
ZigBee Routers ทำหน้าที่จัดการเส้นทางของข้อความที่ส่งผ่านภายในโครงข่ายระหว่างคู่ของโนดใด ๆ และ
ZigBee End Devices เป็นโนดที่อยู่ในส่วนของผู้ใช้งาน โดยสามารถเป็นได้ทั้งแบบ RFD และ FFD

การประยุกต์ใช้งาน ZigBee นั้นจะแบ่งแยกตามประเภทของข้อมูลข่าวสาร ที่มีอยู่ 3 แบบคือ ข้อมูล
แบบ Periodic ข้อมูลเป็นช่วงเวลา โปรแกรมสามารถควบคุมอัตราการส่ง และตัวตรวจจับสัญญาณกระตุ้น เช็คข้อมูลและทำให้ข้อมูลไม่เคลื่อนไหว ใช้สำหรับ เซนเซอร์ และ มิเตอร์
ข้อมูลแบบ Intermittent เป็นลักษณะที่มีการส่งผ่านข้อมูลเมื่อมีการใช้งาน เช่น สวิตซ์ไฟ และ
ข้อมูลแบบ Repetitive low latency ใช้ในงานที่ต้องการ latency น้อย ๆ โดยการสื่อสารจะใช้วิธีจัดสรรช่องเวลา และสามารถใช้กลไกแบบ GTS เพื่อรับประกันคุณภาพของการบริการ นำไปใช้ในงาน เช่น เมาส์ไร้สาย
___________________________________________________

โพรโทคอล ZigBee ถูกออกแบบมาเฉพาะในส่วนของ Application layer, Application support layer และ Network layer เท่านั้น แต่ใช้ MAC layer และ Physical layer ตามมาตรฐาน IEEE 802.15.4
รูปแบบเครือข่ายตามาตรฐาน IEEE 802.15.4 แบ่งออกเป็น 2 แบบ ได้แก่ แบบดาว และแบบตาข่ายร่างแห มีตัวอย่างการสร้างเครือข่ายดังรูปที่ 1 โดยในแต่ละเครือข่าย จะต้องมี FFD 1 ตัวทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของเครือข่าย เรียกว่า PAN coordinator และ RFD จะเข้าร่วมเครือข่ายกับ PAN coordinator ประจำเครือข่ายนั้นๆ
มาตรฐาน IEEE 802.15.4 ได้แบ่งย่านความถี่วิทยุออกเป็น 3 ช่วง ได้แก่ ช่วง 868 MHz มี 1 ช่องสัญญาณ, ช่วง 915 MHz มี 10 ช่องสัญญาณ และ ช่วง 2450 MHz มี 16 ช่องสัญญาณ โดยในโครงงานนี้ใช้ย่านความถี่ 2450 MHz ซึ่งมีความถี่ของแต่ละช่องสัญญาณย่อยตามสมการที่ (1)
Fc = 2405 + 5(k-11) (1)
สำหรับ k = 11, 12, …, 26 เมื่อ k คือ หมายเลขของช่องสัญญาณ

รูปที่ 1 รูปแบบเครือข่าย IEEE 802.15.4

โครงสร้างของโพรโทคอล ZigBee
Application layer เป็นชั้นที่มีส่วนของ Endpoint อยู่ เรียกว่า Application framework โดยมี ZigBee Device Object (ZDO) ทำหน้าที่ในการจัดการในการเข้าถึงและใช้งาน Application layer
Application support sub-layer ทำหน้าที่ในการสร้างเฟรมของ Application layer และทำหน้าที่ในการรับส่งข้อมูลรวมถึงการจัดการด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ Application layer
Network layer ทำหน้าที่ใช้ในการ routing ข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทางที่อาจอยู่ภายในเครือข่ายเดียวกันหรือต่างเครือข่ายกัน

รูปที่ 2 โครงสร้างโพรโทคอล ZigBee

ขั้นตอนการทำงานของโพรโทคอล ZigBee
ขั้นตอนการทำงานของ ZigBee coordinator
ZigBee coordinator จะเริ่มต้นเครือข่าย โดยการตรวจสอบการใช้ช่องสัญญาณวิทยุภายในบริเวณรอบๆ ถ้ามีช่องสัญญาณที่ไม่ถูกใช้โดย coordinator ตัวอื่น ก็สามารถเริ่มต้นเครือข่ายได้ หลังจากนั้น coordinator ก็จะทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของเครือข่าย รองรับการเข้าร่วมเครือข่ายของ ZigBee end-device และรองรับการร้องขออื่นๆ ตามมาตรฐานด้วยเช่นกัน ในโครงงานนี้ coordinator รองรับการเข้าร่วมเครือข่าย การออกจากเครือข่าย และการร้องขอการ Binding เท่านั้น
ขั้นตอนการทำงานของ ZigBee end-device
ZigBee end-device จะเริ่มต้นการทำงานโดยการร้องขอการเข้าร่วมเครือข่ายไปยัง coordinator ประจำเครือข่ายนั้นๆ โดยการตรวจสอบผ่านช่องสัญญาณต่างๆ ว่า coordinator ใช้ช่องสัญญาณใดอยู่เมื่อเข้าร่วมเครือข่ายแล้ว end-device จึงสามารถทำการร้องขอคำสั่งอื่นๆ ผ่านทาง coordinator ได้ เช่น การส่งข้อความทั่วไป (Message), การร้องขอการ Binding (Binding request), การขอออกจากเครือข่าย
___________________________________________________

นอกจากนี้ยังสามารถประยุกต์ใช้กับอุปกรณ์พื้นฐานที่หลากหลายในชีวิตประจำวัน ถ้าเรานำมาตรฐานเครือข่ายแบบไร้สาย IEEE 802.15.4 มาประยุกต์ใช้แบบยูบิควิตัส โดยเป็นการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์ กับอุปกรณ์ หรือ อุปกรณ์ กับมนุษย์ ที่ผ่านระบบเครือข่ายไร้สาย ทั้งนี้ประโยชน์ที่ได้รับมีดังนี้
- ระบบการควบคุมอัตโนมัติ ที่บ้าน โรงงาน และ โกดังเก็บสินค้า เป็นต้น
- ระบบการติดตามสำหรับ ความปลอดภัย ชีวะอนามัย และสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
- การตรวจหาตำแหน่งที่นำไปใช้ใน การปฏิบัติการทางทหาร การทำงานของนักผจญเพลิง และ บริษัทที่ต้องการการตรวจหาตำแหน่งแบบเวลาจริง
- ให้ความบันเทิง เช่น เกมฝึกทักษะ และของเล่นแบบ interactive
มาตรฐาน 802.15.4 หรือ ZigBee ถ้ามีการใช้งานเกิดขึ้นจริงนั้นจะมีผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันของเราอย่างมาก เช่น ในทางชีวะอนามัย นอกจากนี้ระบบ 802.15.4 จะช่วยเตือนภัยจากสิ่งแวดล้อม รวมถึงอุบัติภัยต่างๆ เช่น ไฟไหม้
น้ำท่วม แผ่นดินไหว เป็นต้น ทั้งนี้ระบบเตือนภัยในปัจจุบันไม่ได้เชื่อมต่อกันเป็นระบบเครือข่าย และตัวอุปกรณ์เองมีช่วงการใช้งานจากแบตเตอรี่สั้น นอกจากนี้ยังมีราคาแพงอีกด้วย แต่ในระบบ 802.15.4 สามารถใช้ได้กับอุปกรณ์พื้นฐานเช่น เซนเซอร์ และ Actuators ที่มีราคาถูก ทำให้สามารถติดตามเหตุการณ์ต่างๆ และอุปกรณ์จะทำงานอย่างอัตโนมัติตามที่เราต้องการ
สำหรับการประยุกต์ระบบ 802.15.4 มาใช้ภายในบ้านจะสามารถทำให้อุปกรณ์ และเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มาจากหลากหลายผู้ผลิต สื่อสารระหว่างกันเป็นระบบเครือข่ายได้ เช่น เมื่อมีสายโทรศัพท์เข้ามา โทรทัศน์จะลดเสียงลงอัตโนมัติ ทั้งนี้เราเองไม่ต้องเซตค่าต่างๆให้กับอุปกรณ์ แต่อุปกรณ์เองจะเรียนรู้เองจากพฤติกรรมของเราภายในบ้าน โดยแต่ละอุปกรณ์จะตรวจจับค่าต่างๆ เช่น ความเข้มแสงหลอดไฟ อุณหภูมิ เพลง ช่องโทรทัศน์ และ Web Site โดยแต่ละอุปกรณ์จะเรียนรู้รสนิยมของแต่ละคนและบันทึกไว้
นอกจากนี้เราสามารถนำระบบ 802.15.4 มาประยุกต์ใช้ในการคมนาคม กับอุปกรณ์พื้นฐานต่างๆที่อยู่ตามท้องถนน
ทางด่วน และที่อื่น ๆ ทั้งนี้อุปกรณ์ต่างๆจะสื่อสารกันเองเป็นระบบเครือข่าย ในระหว่างการเดินทางของรถบนท้องถนน
อุปกรณ์ที่อยู่ข้างทางจะส่งข้อมูลที่จำเป็นในการเดินทางสำหรับถนนที่รถวิ่งอยู่
เช่น ความเร็วสูงสุดที่วิ่งได้ เส้นทางเป็นรถเดินทางเดียวหรือสองทาง สภาพการจราจร ข้อมูลอุบัติเหตุ เป็นต้น
นอกจากนี้อุปกรณ์ต่างๆที่อยู่ข้างถนนจะมีการทำงานแบบอัตโนมัติด้วยเช่น ไฟส่องทางจะลดความเข้มลงเมื่อไม่มีรถวิ่งผ่านมา และระบบควบคุมการจราจร เป็นต้น
ประโยชน์อีกอย่างหนึ่งคือ สามารถตรวจหาตำแหน่งของรถได้ ซึ่งจะคล้ายกับระบบ GPS แต่ระบบ GPS นี้ไม่สามารถตรวจหาตำแหน่งในบางสถานที่ได้ เช่นในอุโมงค์ ภายในอาคาร เป็นต้น และระบบ GPS ยังมีความคลาดเคลื่อนของตำแหน่งมากกว่า การใช้งานในระบบ 802.15.4 อีกด้วย

XBee

XBee เป็นอุปกรณ์ที่ใช้งานผ่าน ZigBee/IEEE 802.15.4

ลักษณะโดยทั่วไปของ XBee
1. ISM 2.4 GHz operating frequency
2. 60 mW (18 dBm), 100 mW EIRP power output (up to 1 mile range)
3. U.FL RF Connector, Chip or Integrated Whip antenna options
4. Industrial (-40 – 85° C) temperature rating
5. Approved for use in the United States, Canada, Australia and EuropeAdvanced networking & low-power modes supported

วันพุธที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2550

Project

วิชา : measurement
เรื่อง : การส่งข้อมูลโดยใช้zigbee protocol
เสนอ : อ.ศุภชัย
จัดทำโดย :
นายมารุต โล้วพฤกษ์มณี 4810610339
นางสาวจิตตรี มุนินทร์นิมิตต์ 4810610396
นางสาวไอยดา ภิญญรัตน์ 4810612087